August 17, 2009

การสอนเรื่องความมีอยู่ของชาติหน้า โลกหน้า ตายแล้วเกิด ไม่ทำให้คนเพ้อฝันหรือ ?

Posted in สวรรค์กับนรก, หลักปฏิบัติต่างๆ tagged at 10:14 am by whybuddha

อาจจะฝันแต่ไม่ใช่เพ้อฝัน กลับเป็นการใฝ่ฝันอย่างความใฝ่ฝันที่คนร้องเพลงกันว่า

“ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” นั้นเอง ปัญหาเรื่องชาติหน้า โลกหน้า ตายแล้วเกิดนั้น ได้

กล่าวมาแล้วว่าเป็นเรื่องของผลที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย คนอาจจับเอาหลักเพียงพระ

พุทธภาษิตที่ว่า

 

อิธ นนทติ เปจจ  นนทติ    กตปุญโญ อุภยตถ นนทติ

ปุญญํ  เม กตนติ  นนทติ   ภิยโย นททติ สุคติ คโต

        ผู้มีบุญอันกระทำแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสองคือบันเทิงอยู่ในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงด้วยความคิดว่าบุญอันเรากระทำไว้แล้ว

ไปสุคติแล้วจะบันเทิงยิ่งๆขึ้น

        จะพบว่าพระพุทธภาษิตนี้แสดงเหตุแห่งความบันเทิงในโลกทั้งสองไว้ว่าได้แก่บุญผล

คือความบันเทิงจะเกิดขึ้นในโลกทั้งสองได้ ก็ต้องสร้างเหตุคือบุญไว้ ความสำนึกเช่นนี้จะ

เป็นแรงกระตุ้นให้คนผู้ปรารถนาผลดังกล่าว รีบเร่งกระทำเหตุที่ให้เกิดผลเป็นความ

บันเทิงในโลกทั้งสอง

        ความสำเร็จในชีวิตคนจะต้องเริ่มมาจากความใฝ่ฝันเพื่อเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เสีย

ก่อนแล้วในที่สุดทำให้คนเหล่านั้นเพียรพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตนใฝ่ฝัน ความเพียรพยายามนั้นจะยุติลง เมื่อตนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่เคยใฝ่ฝันไว้

การสอนการเชื่อในเรื่องชาติหน้า โลกหน้า ตายแล้วเกิด จึงเป็นพลังอันมหาศาลที่จะผลัก

ดันวิถีชีวิตของคนให้ก้าวเดินไปบนเส้นทางแห่งสุจริตทาง กาย วาจา ใจ ซึ่งอำนวยผลให้

คนเห็นได้ในปัจจุบัน เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคมอันเป็นส่วนรวมสังคมจะมีสมาชิก

ที่ยึดมั่นในความถูกต้องตามธรรมมากขึ้น ความเห็นแก่ตัว พวกของตัว พ่อค้าหน้าโลหิต

จะน้อยลงได้มากทีเดียว เมื่อผลออกมาได้อย่างนี้ใครจะเรียกว่า เพ้อฝันหรือสร้างวิมาน

ในอากาศจะสำคัญอะไร ?

การสอนเรื่องนรกสวรรค์ตายแล้วไปเกิดอีกจะไม่ทำให้เห็น ว่าล้าสมัยหรือ ?

Posted in สวรรค์กับนรก tagged , at 9:52 am by whybuddha

แล้วสอนเรื่องอะไรจึงจัดว่าทันสมัยละ ?

        หรือจะให้สอนเรื่องข้าราชการบางคนคอรัปชั่น ปัญหายาเสพติดให้โทษ อากาศ

เป็นพิษ หรือว่าปัญหาอาชญากรรม งานเหล่านี้มีคนทำกันมากแล้ว ถ้าขืนสอนไป

จะหาว่าพระเล่นการเมือง พูดเรื่องชาวบ้าน จนถึงแย่งงานชาวบ้าน แต่เรื่องเหล่านี้

เมื่อขอบข่ายของธรรมะโยงไปถึง ผู้แสดงก็จะยกมาแสดงตามสมควรแก่เหตุอยู่เช่น

เดียวกัน

        แนวโน้มในการอธิบายธรรมในปัจจุบัน ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าพระจะไม่ค่อยพูด

ถึงเรื่องนรกสวรรค์แบบที่เป็นภพชาติ โลกหน้ามากนัก แต่จะเน้นหนักไปในรูปของ

การประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อให้เกิดสวรรค์ภายในจิตใจ หลีกเลี่ยงนรกภายในใจ และเป็น

เทวดาเป็นพรหมด้วยการปฏิบัติธรรมกันมากกว่า เพราะแสดงอย่างไรผลก็จะออกมา

ในลักษณะเดียวกันดังกล่าวแล้วในข้อก่อน

        ข้อที่กล่าวว่าพูดถึงเรื่องเหล่านี้จะไม่ทำให้ล้าสมัยหรือนั้น หาได้เป็นการล้าสมัย

แต่ประการใดไม่ หากความหมายของคำว่าทันสมัยหมายถึงทันกับเหตุการณ์สังคม

จริยธรรมของสังคม เราจะพบว่าการยอมรับนับถือเรื่องนรกสวรรค์ในแง่ใดก็ตาม

ย่อมเกี่ยวโยงเข้าหาความเชื่อกฎแห่งกรรม เพราะนรกสวรรค์เป็นผลของกรรมความเชื่อ

เรื่องนรกสวรรค์จึงย้อนกลับไปหาเหตุผลตามลำดับไปเป็นรูปของปฏิกิริยาลูกโซ่

ซึ่งจะช่วยให้ความเจริญในด้านวัตถุกับจิตใจมีความสัมพันธ์กันดังนี้

        การยอมรับนับถือเรื่องนรกสวรรค์นำไปสู่การยอมรับนับถือกฎแห่งกรรม

        ความเชื่อในกฎแห่งกรรมนำไปสู่การละความชั่วทำความดี

        การละความชั่วทำความดีนำไปสู่การพัฒนาด้านจิตใจความประพฤติ

        การพัฒนาจิตใจนำไปสู่ความสุขความสงบทางจิตใจ

        ความสุขความสงบที่เกิดภายในจิตของคนในสังคมนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข

        การอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขเป็นการสร้างสวรรค์เกิดขึ้นในโลกมนุษย์

        ปัจจุบันวิชาการทางเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปไกลมากแต่เนื่องจากความเจริญใน

ปัจจุบันมีลักษณะเป็นดาบสองคม เพราะวัตถุได้ก้าวล้ำหน้าพัฒนาการทางจิตไปมาก

ความเชื่อที่นำมาเรียงไว้ตอนหนึ่งนั้น เริ่มจากจุดใดก็ตามย่อมเป็นการพัฒนาจิตใจให้

สูงขึ้นสัมพันธ์กับความเจริญทางด้านวัตถุจนถึงจุดที่สามารถ

        “ให้จิตใจที่ประกอบด้วยธรรม เหตุผล เป็นตัวนำวัตถุแทนที่จะให้วัตถุนำ

จิตใจอย่างที่เห็นกันบางแห่งในปัจจุบัน”

        การสอนและยอมรับเรื่องนรกสวรรค์ในแง่ที่ถูกต้องจึงไม่เป็นการล้าสมัยแต่เป็นการ

เร่งรัดพัฒนาด้านจิตใจพฤติกรรมของมวลชนให้สามารถเป็นผู้กำหนดวัตถุและควบคุม

วัตถุได้ด้วยพื้นฐานแห่งจิตใจที่ประกอบด้วยธรรมดังกล่าว.

นรก สวรรค์มีจริงหรือไม่ ไม่ใช่เป็นเครื่องมือของนักเผย แผ่หรือ?

Posted in สวรรค์กับนรก tagged at 9:50 am by whybuddha

 เรื่องนรกสวรรค์เป็นเรื่องที่ท่านได้บรรลุญาณที่เรียกว่า จุตูปปาตญาณคือญาณที่ทำ

ให้ทราบการเกิดความแตกต่างของสัตว์ทั้งหลาย ว่ามีได้เพราะอะไร ท่านเห็นความมี

อยู่ของนรกสวรรค์ด้วย ทิพพจักขุ คือตาทิพย์ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต้องได้อภิญญา

ซึ่งแปลว่าความรู้อันยิ่ง ไม่ใช่วิสัยของคนธรรมดาจะรู้ได้เหมือนกับการรับภาพในอากาศ

การฟังเสียงจากที่ไกลเป็นวิสัยของเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุตามลำดับปัจจุบันใครๆ

ไม่อาจปฎิเสธว่าในบรรยากาศมีเสียงกล่าวถึงเรื่องต่างๆจากภายในประเทศบ้าง ภายนอกประเทศบ้าง แต่ถ้าเขาไม่มีวิทยุเขาก็ไม่อาจจะทราบเสียงนั้นได้เมื่อต้องการ

จะทราบฉันใดเรื่องนรกสวรรค์ก็มีลักษณะฉันนั้น

        การถกเถียงในปัจจุบันนี้เป็นเรื่องของคนที่ถกเถียงรสว่าอร่อยไม่อร่อยด้วยหู

แทนที่จะพิสูจน์ด้วยลิ้น ซึ่งเถียงกันอย่างไรก็ได้แต่หาข้อยุติไม่ได้เรื่องนรกสวรรค์ก็เหมือน

กันการรู้ การเห็นนรกสวรรค์เป็นวิสัยของญาณและทิพย์จักษุ เมื่อไม่มีเครื่องมือ

สองประเภทนี้ ก็ต้องเถียงกันด้วยโวหารที่ไม่มีทางจบสิ้นเป็นการเสียเวลาโดยไม่เกิด

ประโยชน์อะไรเลย ที่สำคัญคือเรื่องนรกสวรรค์เป็นเรื่องของผลแห่งกรรมอันถือว่าเป็น

อจินไตย คือไม่อาจรู้ได้ด้วยการคิดเอาแต่จะทราบได้ด้วยการลงมือปฎิบัติเหมือน

การทราบชัดรสอาหารด้วยการบริโภคฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้เราควรจับหลักอะไร ?

        ก็ต้องอาศัยตถาคตโพธิสัทธาคือเชื่อพระปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพราะ

เรื่องนี้ พระองค์ทรงรู้ เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วหาได้รู้เมื่อยังครองเรือนอยู่ไม่ พระพุทธเจ้า

นั้นทรงมีหลักในการสอนธรรม ๓ ประการข้อที่เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ

        “ทรงแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่เขาควรรู้ควรเห็น”

        ในเรื่องที่ทรงแสดงนั้นมีเรื่องนรกสวรรค์อยู่ด้วย แสดงว่าเรื่องนี้ควรรู้ควรเห็น

เพราะสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงรู้นั้นมีมากมายสุดจะนับจะประมาณได้ แต่ข้อที่นำมาสั่งสอน

นั้น อุปมาเหมือนใบไม้กำมือเดียวจากใบไม้ในป่าเท่านั้น และในใบไม้กำมือเดียวนั้นมี

เรื่องนรกสวรรค์รวมอยู่ด้วย เรื่องเหล่านี้ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งชั้นบาลี

อรรถกถาและตำรารุ่นหลังเป็นอันมาก จนคนผู้ทราบประมาณแห่งความรู้ตนไม่อาจ

ปฎิเสธได้

        “อาจจะมีปัญหาว่าการเชื่อถือในลักษณะนี้จะไม่เป็นการเชื่อเพราะอ้างตำราหรือ?

เพราะในกาลามสูตรห้ามมิให้เชื่อโดยอ้างตำรา มิใช่หรือ ?”

         ปัญหาก็จะติดตามมาว่าก็กาลามสูตรเองเล่ามิใช่เป็นตำราด้วยหรือ เมื่อเป็นตำราแม้

กาลามสูตรเองต้องเชื่อไม่ได้ด้วยนะซิ ในที่สุดก็จะเกิดปัญหาวัวพันหลักขึ้นมา

        ในชั้นนี้ขอให้ข้อสังเกตเพียงว่าแหล่งแห่งความเชื่อของคนเรานั้นอาจจำแนกได้ดังนี้

        ๑.ประจักษ์ประมาณคือ เชื่อเพราะได้เห็น ได้ยิน ได้สูดดม ได้ลิ้ม ได้จับต้อง ได้รู้ด้วยตนเอง แล้วจึงเกิดความเชื่อขึ้นมา

        ๒.อนุมานประมาณ รู้ด้วยการอนุมาน คือการคาดคะเนเอาว่าเมื่อเป็นอย่างนี้

ก็ต้องเป็นอย่างนั้น เช่นเราเคยเห็นควันเกิดจากไฟ ต่อมาเห็นเฉพาะควันไม่เห็นไฟ

ก็อนุมานได้ว่าที่ตรงนั้นต้องมีไฟ เพราะที่ใดมีควันที่นั้นมีไฟ

        ๓.ศัพท์ประมาณคือ การศึกษาจากหลักฐานต่างๆ เช่น ตำรา โบราณคดี เป็นต้น

ให้สังเกตว่าแหล่งแห่งความเชื่อเหล่านี้ไม่ใช่ข้อยุติว่าจะต้องถูกต้องเสมอไปจำเป็นจะต้อง

ใช้ปัญญาเช้าพิจารณาเสียก่อนทั้งนั้น ตามที่ท่านแสดงว่าบุคคลไม่เชื่อด้วยเหตุผล ๑๐ ประการ ซึ่งมักจะแผยแพร่กันแบบไม่ตลอดสายอยู่เสมอนั้นพระพุทธเจ้าทรงมุ่งไปที่

ประเด็นว่า

 

“ไม่ควรเชื่อเพียงเพราะเป็นตำรา”

        แต่โดยหลักปฎิบัติแล้วให้นำเอาแหล่งแห่งความรู้เหล่านั้นเองไปพินิจพิจารณาด้วย

เหตุผลสติปัญญาจึงจะเชื่อในเรื่องนั้นๆ

        สำหรับบางคนที่อ้างว่าตนไม่รู้ไม่เห็นตนไม่เชื่อนั้น นอกจากเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว

ข้อที่ไม่ควรลืมว่าการที่บุคคลยอมรับว่าท่านผู้นั้นเป็นพ่อเป็นแม่ของตนเป็นต้นนั้นไม่ได้

เชื่อเพราะเห็นเป็นต้น แต่เชื่อเพราะท่านบอกและคนอื่นบอกว่า คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้กับตนและตนอนุมานเอาจากพฤติกรรมที่ท่านแสดงวิญญาณของแม่

เท่านั้นเพราะอะไร ?

        “เพราะว่าเราไม่ได้รู้เห็นตอนที่ท่านเกิดเรามาด้วยสายตาของเราเองจึงต้องเชื่อด้วย

วิธีที่สองและสาม”

        เรื่องนรกสวรรค์จึงเป็นเหมือนคนที่เคยขึ้นไปยอดเขาหิมาลัยมาเล่าถึงความสวยงาม

ของภูเขาและทิวทัศน์ที่ตนได้เห็นมาบนภูเขาหิมาลัยผู้ฟังทำได้สองประการ คือ

       เชื่อตามที่เขาบอกให้ทราบเพราะเขาไปรู้เห็นมาด้วยตนเอง

        ขึ้นไปดูภูเขาในจุดที่เขาบอกว่าเขาเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้

        “หากปฏิเสธไปเลยว่าเขาโกหกได้ไหม ?”

        “ไม่ได้หรอก” ทำอย่างนี้ก็เสียเชิงวิทยาศาสตร์แย่นะซีเพราะนักวิทยาศาสตร์นั้นเขามี

หลักสำคัญอยู่ว่า “จะไม่ยืนยันหรือปฏิเสธอะไรในเรื่องที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทดสอบ”

        แต่การพิสูจน์ทดสอบอะไรก็ตาม ต้องพิสูจน์ด้วยเครื่องมือและกรรมวิธีเฉพาะเรื่อง

นั้นๆไม่ใช่จะเอากล้องจุลทัศน์ดูไปเสียทุกเรื่อง

        อย่างไรก็ตามเรื่องนรกสวรรค์นั้นเท่าที่พบมาทรงมีวิธีแสดงหลายวิธีคือ

        ๑.แสดงถึงภพหรือภูมิ ที่คนสัตว์จะต้องไปเกิดตามสมควรแก่กรรมของตน เรียกว่า ปรโลก  คือโลกอื่น ตรงกันข้ามกับโลกนี้ที่เรียกว่า อิธโลก

        ๒.แสดงในรูปของกรรมที่บุคคลกระทำแล้วจะนำให้เขาอุบัติในคติภพนั้นๆเช่น ทรงแสดงอานิสงส์ คือผลอันเกิดขึ้นจากการกระทำความดีมีการให้ทาน รักษาศีล มีศรัทธา เมตตา เป็นต้นจะจบลงด้วยคำว่าตายแล้วไปบังเกิดในสุคติหรือทุคติ

หากกระทำตรงกันข้ามหรืออย่างที่รับสั่งปรารภ คน ๔ คนผู้มีการกระทำแตกต่างกัน

ได้ตายไปว่า

คพภเมเก  อุปปชชนติ   นิรยํ ปาปกมโน

สคคํ สุคติโน ยนติ    ปรินิพพนติ  อนาสวา

คนทั้งหลายบางพวกย่อมเกิดในครรภ์   ผู้มีบาปกรรมย่อมเข้าถึงนรก ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่งสุคติย่อมไปสวรรค์ ท่านผู้ไม่มีอาสวะย่อมปริพพาน

        ๓. ทรงแสดงในรูปของธรรมอันเป็นเหตุให้คนไปบังเกิดในนรกและสวรรค์ เช่น

น หิ ธมโม อธมโม จ อุโภ สมวิปากิโน

อธมโม นิรยํ เนติ  ธมโม ปาเปติ สุคตํ

ธรรมและอธรรมทั้งสอง หามีวิบากเสมอกันไม่ อธรรมนำไปสู่นรก

ธรรมยังบุคคลให้ถึงสุคติ

         ๔.ทรงแสดงในรูปของสรรค์ที่บุคคลจะประสบด้วยการกระทำของตนในปัจจุบัน

เช่นมีฐานะร่ำรวยอยู่เย็นเป็นสุขเป็นสวรรค์ ทำผิดติดคุกประสบความเดือดร้อนเป็นนรก

        ๕.แสดงในรูปของการเป็นเทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต ด้วยการการปฏิบัติ

ตามธรรมและอธรรม เช่นเป็นเทวดาเพราะมีหิริ โอตตัปปะ เป็นพรหมเพราะมีพรหม

วิหารเป็นต้น

        ๖.แสดงในรูปของความรู้สึกในด้านจิตใจโดยเฉพาะ เช่นสุขกายสบายใจเป็น

สวรรค์กลัดกลุ้มเดือดร้อนใจเป็นนรก

        สำหรับคนที่ไม่สมัครใจที่จะเชื่อจะด้วยเหตุผลอย่างไรก็ตามให้ยึดหลักการทำ

ความดีเอาไว้ คือ

        หากสวรรค์นรกไม่มีอยู่จริง ตนก็อยู่อย่างไม่มีเวรมีภัยในปัจจุบัน

        หากสวรรค์นรกมีเมื่อตายไปก็จะได้บังเกิดในสวรรค์

        หากกระทำความชั่วแล้วแม้ว่าจะไม่มีนรกสวรรค์ตนก็ได้รับความเดือดร้อนที่เห็น

ในปัจจุบันตายไปหากนรกสวรรค์มีก็ต้องตกนรก

        การทำความดีในปัจจุบันอย่างน้อยที่สุดจะได้รับความสุขในโลกนี้ เมื่อมีนรกสวรรค์

ในโลกหน้าก็จะได้บังเกิดในสวรรค์อีกเป็นการได้ถึงสองชาติ แต่ผู้ทำความชั่วกลับตรงกัน

ข้ามคือต้องเดือดร้อนในโลกนี้เป็นอย่างน้อย หากนรกสวรรค์เกิดมีเข้าก็เดือดร้อน

ทั้งสองโลก

        วิธีการแสดงเรื่องนรกสวรรค์ตามที่กล่าวมานี้จะพบว่าผลจะออกมาในลักษณะเดียว

กัน ใครจะเชื่อในระดับใดก็ตาม หากต้องการความสุขก็ต้องทำดีหนีความชั่ว ผลจะเกิด

ขึ้น ให้พิสูจน์ได้ทั้งในปัจจุบันและด้วยญาณของท่านผู้รู้

        ให้สังเกตว่าการตกนรกหรือขึ้นสวรรค์นั้นเป็นการใช้คำว่า ตก และขึ้นแห่งระดับจิต

ของบุคคลคือยกจิตจากกระแสอธรรม และขึ้นสู่กระแสธรรมเมื่อจับจุดนี้ได้แล้ว

ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์หรือถกเถียงกันให้เสียเวลา เพราะถึงจุดหนึ่งแล้วตนจะรู้เองขอเพียง

ยึดมั่นในการยกระดับจิตของตนให้สูงไว้ก็พอแล้ว การจะทราบชัดในเรื่องนี้ได้จริงๆ

นั้นนอกจากทราบด้วย “ญาณ”ดังกล่าวแล้วอีกวิธีหนึ่งคือ

        “จะทราบชัดด้วยตนเอง เมื่อตนตายไปแล้ว”

        การรอคอยพิสูจน์วิธีนี้หากทำความดีไว้ก็ไม่เสียหายแต่ถ้าทำความชั่วมากๆก็ออกจะ

เสี่ยงเอาการทีเดียวทางที่ดีแล้วคือ

        “เพียรพยายามสร้างความดีในปัจจุบันให้มากๆไว้เป็นการปลอดภัยที่สุด”

        สำหรับประเด็นที่ว่า “ไม่ใช่เป็นเครื่องมือนักเผยแผ่หรือ” นั้น ออกจะเป็นการกล่าว

หาที่ไร้เหตุผลเอามากที่เดียว “ทำไมถึงได้กล่าวเช่นนั้น?”

        เพราะว่าเรื่องนรกสวรรค์นี้เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลายท่านรู้เห็นด้วย

ญาณและได้แสดงแก่ชนทั้งหลาย ในฐานะที่เป็นเรื่องควรรู้ควรเห็นประการหนึ่ง พระ

พุทธเจ้านั้นทรงแสดงเรื่องนี้ด้วยพระมหากรุณาแก่สัตว์โลกพระทัยที่เต็มเปี่ยมด้วย

พระบริสุทธิคุณไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของพระองค์ แต่ทรงทำเพื่อประโยชน์

เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่สรรพสัตว์ พระอรหันต์ทั้งหลายก็มีนัยเดียวกัน

        พระสงฆ์ที่ทำงานเผยแผ่นั้นท่านไม่มีความรู้อะไรเป็นส่วนตัวของท่าน แต่ท่านรู้เพราะ

การได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านทำงานไปตามหน้าที่ของ

ท่านที่กำหนดไว้ว่า

        “พระสงฆ์คือหมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระ

พุทธเจ้าและสอนบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตามด้วย”

        หากจะถามว่าปฏิบัติตามซึ่งอะไร ?

        คำตอบคือปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เวลาพระเทศน์ทุกครั้งจึงมีคำว่า “บัดนี้จะแสดงพระธรรมเทศนาพรรณนาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า”ก่อนทุกครั้ง เพื่อบอก

ให้ทราบว่าที่กล่าวต่อไปนี้ไม่ใช่คำสอนของท่านนะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระสงฆ์จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนราชทูตอ่านพระสาส์น และในการสอนนี้เองมีหน้าที่ซึ่ง

กำหนดไว้ว่าเป็นหน้าที่ของพระ คือ    “บอกทางสวรรค์ให้แก่ชาวบ้าน”

        ที่ว่าเป็นเครื่องมือจึงไม่ทราบว่าเป็นเครื่องมือในทางแสวงหาผลประโยชน์จากอะไร

เพราะถ้าเรื่องนี้นักเผยแผ่สร้างขึ้นมาเอง

        นักเผยแผ่ก็กล่าวมุสาอันเป็นเหตุอย่างหนึ่งให้ตนตกนรกนักเผยแผ่ไม่กลัวนรกหรือ ?

ที่ไม่ควรลืมคือเรื่องนรกสวรรค์นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องรู้ได้ชัดด้วย จุตูปปาตญาณ หรือทิพยจักษุ

การอธิบายเรื่องนรกสวรรค์ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ใครจะเอาเรื่องอธิบายยากมาสอน

ให้ลำบากเล่า ในเมื่อเรื่องง่ายๆมีมากมายก่ายกองอธิบายเรื่องนั้นๆไม่ดีกว่าหรือ ?