July 27, 2009

มีพระอยู่วัดหนึ่ง ในตอนกลางคืนจะแต่งตัวธรรมดาไปเที่ยว และกลับมาในตอนราวๆ 5.30 น.ในตอนกลางวันก็ทำตัวเป็นพระเช่นนี้ ถือว่าผิดหรือไม่ ?เพราะเคยเห็นในขณะที่มาโรงเรียน.

Posted in อาบัติ ศีล และวินัยของพระ tagged at 3:09 am by whybuddha

       ในคำถามนี้น่าจะถามว่า มีพระองค์หนึ่ง มากกว่าจะถามว่ามีพระอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะทำเช่นว่านั้นกันทั้งวัด เรื่องอย่างนี้เคยได้ยินแต่คนพูด ๆกัน แต่พอถามต้องการหลักฐานและพยานบุคคลก็ไม่ปรากฎชัด

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   พยายามการแข่งขันกับเพื่อนด้วยกัน ในการให้ได้คะแนนมากกว่าเขา แต่ต้องเป็นการคิดแข่งในใจ อย่าไปท้าเขาแข่ง

 ปลูกฉันทะ ความพอใจ ความพยายาม ความเอาใจใส่ และการใช้ปัญหาพิจารณาในการเรียนให้มาก

         ในการทำงานของคนนั้น การเตือนตนด้วยตนและการพิจารณาตนด้วยด้วยตน เป็นความจำเป็นเพราะเราเองเท่านั้น จะต้องเป็นผู้รับผลโดยตรง ของการกระทำทั้งดีและไม่ดีของเรา ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า

“จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด

ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน

ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน

อย่าแชเชือนเตือนตนเป็นผลดี.

 

 

 

การที่มนุษย์คิดอยากได้สิ่งโน้นสิ่งนี้ ทางศาสนาถือว่าเป็นราคะโลภะ แต่ถ้าพระคิดจะบรรลุโสดา และถึงขั้นนิพพาน จะถือว่าเป็นราคะและโลภะด้วยหรือไม่ ขอความกรุณาพระคุณเจ้าช่วยชี้แจงด้วย

-เรื่องนี้เคยมีการอธิบายกันว่า เป็นบ้าง ไม่เป็นบ้าง  โดยถือว่าเป็นความอยากที่ดี จึงไม่เป็นราคะโลภะ ที่ถือว่าเป็นก็เพราะคนอยากยังมีราคะ โลภะอยู่แล้วแต่ความเข้าใจของแต่ละคน

         ตามหลักฐานทางพระศาสนานั้น ท่านแสดงว่า “ตณฺหํ  นิสฺสาย ตณฺหา ปหาตพฺพา”แปลความว่า บุคคลพึงอาศัยตัณหา แล้วละตัณหาเสีย อันเป็นการแสดงว่า แม้การยากได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็เป็นตัณหาเหมือนกัน เมื่อเป็นตัณหาก็ต้องเป็นราคะโลภะด้วย แต่เป็นความอยากที่ประณีตขึ้น อยากได้จริง เมื่อได้แล้วจะไม่ยึดไม่ติดอยู่ในสิ่งนั้นอีกต่อไป

         ถ้าจะพูดเป็นอุปมา ตัณหา ราคะ โลภะ ในความเป็นพระโสดา และนิพพานนั้น เปรียบเหมือนเรือซึ่งผู้ต้องการข้ามฟากจะต้องอาศัย แต่เมื่อเขาถึงฝั่งที่ต้องการจะไปแล้ว เขาจะเอาเรือไปด้วยก็หาไม่ ต้องทิ้งเรอไว้ จึงจะขึ้นฝั่งได้ ถ้าขืนอยู่ในเรือก็ขึ้นฝั่งไม่ได้พระอริยบุคคลก็อยู่ในลักษณะนี้ ก่อนที่จะบรรลุนิพพานท่านต้องอาศัยความอยากไปนิพพาน ไปจนกว่าจะถึงนิพพาน แต่พอถึงนิพพานความอยากถึงก็หมดไป ทั้งความกำหนัด พอใจในนิพพานนั้นก็ไม่มีอีก ท่านจึงชื่อว่าได้ละตัณหา ราคะ โลภะ ได้เด็ดขาด

         แต่พึงเข้าใจว่า ราคะ โลภะของท่านเป็นไปเพื่อละสิ่งเหล่านั้น ราคะบางอย่างที่ท่านต้องละจึงกลายเป็นสิ่งดีสำหรับคนธรรมดา เช่นรูปราคะ อรูปราคะ คือความกำหนัด ความยินดี ในรูปฌาน อรูปฌานอันเป็นผลทางจิตที่สูงมากสำหรับคนธรรมดา แต่พระอรหันต์จะต้องละสิ่งเหล่านั้นก่อน จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะนั้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจสัตว์ประการหนึ่งในขั้นที่ป้องกันไม่ให้บุคคลบรรลุอรหันผลได้ แต่คนธรรมดาจะต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ไปก่อน เมื่อบรรลุแล้วก็ละไปเอง   ราคะ โลภะ ในขั้นธรรมดา เราก็ต้องอาศัยกันทุกคน แต่ส่วนมากท่านไม่เรียกอย่างนั้น เช่นความอยากรู้ อยากเรียน อยากเป็นคนดี ก็เป็นราคะ โลภะเหมือนกัน แต่ส่วนมากท่านจะเปลี่ยนเรียกเป็น ฉันทะความพอใจ ความปรารถนา ความต้องการ อันที่จริงก็เป็นอาการของราคะ โลภะเช่นกัน ตราบใดที่คนยังไม่เป็นพระอรหันต์ ตราบนั้นจะหลีกจากราคะหาได้ไม่

         ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรคนเราจึงจะไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งเหล่านี้มากเกินไป และทำอย่างไรจึงจะควบคุมความต้องการของตน ให้อยู่ในกรอบของศีลธรรม ไม่เบียดเบียนคนอื่นและตนเอง เพราะอาศัย ความยากเป็นเหตุ

         มีบางท่านกล่าวว่า การอยากข้าว อยากน้ำ ไม่เป็นตัณหา เพราะท่านถือว่าเป็นความต้องการทางร่างกาย แต่เมื่อมองดูภาวะของจิตที่อยากกินอาหารของคนธรรมดา กับพระอรหันต์ จะเห็นว่าผิดกันมากเพราะพระอรหันต์ท่านเพียงต้องการอาหารเท่านั้น ไม่ได้มีความต้องการทางใจเพิ่มขึ้นอีกว่า ขอให้มีรสอย่างนั้น อย่างนี้ แต่คนธรรมดาอยากกินอาหาร ก็ต้องมีความต้องการทางใจเพิ่มขึ้นว่า ขออาหารชนิดนั้นชนิดนี้ รสชาติอย่างนั้นอย่านี้ ซึ่งความต้องการเหล่านั้นเป็นอาการของตัณหาทั้งหมด ความอยากอาหารของคนธรรมดาจึงไม่อาจจะหลีกคำว่าตัณหาไปได้ เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง

Leave a comment